วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ดอกหน้าวัว

ดอกหน้าวัว

ชื่อสามัญ Anthurium ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthurium andraeanum
ตระกูล Araceae (arum)
ถิ่นกำเนิด โคลัมเบีย

ลักษณะทั่วไป
หน้าวัวเป็นไม้พุ่มเตี้ยใช้ปลูกคลุมดิน มีอายุหลายปี เติบโตเป็นต้นเดี่ยวหรืแตกกอ ลำต้นสั้นหรืยืดยาวคล้ายไม้เลื้อยและทิ้งใบช่วงล่างของต้นพร้อมทั้งเกิดรากใหม่ที่บริเวณ เป็นไม้ตัดดอกที่มีรูปร่างแปลกตา สีสันสดสวย ออกดอกได้ตลอดปี ใบของหน้าวัวมีแตกต่างกันไปหลายแบบ เช่น รูปหัวใจ รูปใบหอก รูปสามเหลี่ยม หรือใบประกอบแบบนิ้วมือใบแตกออกจากลำต้นเรียงเวียนสลับกัน ขนาดและสีต่างกันไปตามชนิดและพันธุ์ดอกของหน้าวัวเกิดจากตาดอกที่ซอกใบ ปกติตาดอกและใบอ่อนจะเกิดพร้อมกัน แต่ตาดอกจะพัฒนาขึ้นมาหลังจากใบแก่สมบูรณ์แล้ว ดังนั้นต้นที่โตเร็วจึงมักจะให้ดอกดก ดอกหน้าวัวมีสวนประกอบด้วยช่อดอกที่เรียกว่าปลี อาจมีสีขาว เหลืองหรือขาวปลายสีเหลือง และจานลองดอกหรือที่เรียกว่าดอกนั้นเองจานลองดอกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าใบประดับ มีลักษณะคล้ายใบติดที่โคนปลีหน้าวัวที่มีดอกสีสวยสะดุดตานี้ สีของจานรองดอกมีหลากสี เช่น ขาว เขียว ชมพู ส้ม แดงม่วง หรือมีหลายสีปนกัน อาจเรียบหรือย่นเป็นร่องชึ่งมีคำเรียกเฉพาะว่าร่องน้ำตาซึ่งอาจตื้นลึกต่างกันไปตามพันธุ์

การขยายพันธ์
การเพาะเมล็ด
นิยมใช้เพื่อการปรับปรุงพันธุ์หรือเพื่อผลิตลูกผสมที่มีลักษณะต่างไปจากพ่อ-แม่พันธุ์เท่านั้น ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 3 ปี ต้นจึงจะให้ดอก การเพาะเมล็ดพันธุ์ควรทำทันทีหลังจาก เก็บผล เพราะเมล็ดหน้าวัว สูญเสียความงอกเร็วมาก

การตัดชำยอด
จะทำเมื่อต้นมีความสูงกว่าวัสดุปลูกเกิน 60 เซนติเมตร โดยตัดยอดให้ใบติดอยู่ 3 - 5 ใบ และมีราก2 - 3 ราก ทาแผลที่เกิดจากรอยตัดด้วยยาป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นนำยอดไปปักชำในที่ร่มและมีความชื้นสูง เมื่อมียอดใหม่และรากงอกแล้วจึงย้ายไปปลูกตามปกติ

การแยกหน่อหรือตัดหน่อ
นิยมทำหลังจากที่ตัดยอดชำแล้ว ต้นตอที่ถูกตัดยอดแล้วจะมีหน่อใหม่เกิดขึ้น สามารถตัดแยกหน่อไปปลูกได้ โดยหน่อนั้นควรเป็นหน่อที่มีขนาดใหญ่และมีราก 2 - 3 รากแล้ว

การปักชำต้น
ใช้กับต้นขนาดใหญ่ที่มีอายุมากและถูกตัดยอดไปชำแล้ว โดยตัดต้นเป็นท่อน แต่ละท่อนให้มีข้อ 2 - 3 ข้อนำไปปักชำในทรายหรืออิฐทุบก้อนเล็กๆ ความชื้นสูง แต่ไม่แฉาะ ควรปักชำให้ยอดทำมุมประมาณ 30 - 40 องศา วิธีนี้ใช้เวลานานและต้นใหม่ที่ได้มักไม่แข็งแรงจึงไม่ค่อยนิยมกันนักกาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เป็นวิธีที่ใช้เมื่อต้องการต้นจำนวนมากในระยะเวลาสั้น นิยมใช้กับพันธุ์ที่ผลิตเพื่อการค้า

การปลูก
หน้าวัวจะเติบโตได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสูงแสงรำไรและมีลมพัดผ่านไม่แรงนักสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือปริมาณแสง แดดที่ต้นได้รับเพราะแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ใบเหลือง สีดอกซีดและเป็นรอยไหม้ แต่ถ้าได้รับแสงน้อยเกินไปจะทำให้ใบมีสีเขียวเข็ม ออกดอกน้อย ปริมาณแสงที่เหมาะสมคือประมาณ 20 - 30 % จะทำให้ต้นออกดอกดก คุณภาพดอกดี วัสดุปลูก ที่นิยมใช้กันมากคือ อิฐมอญทุบ ถ่านกาบมะพร้าว ใบไม้ผุ กะลาปาล์มน้ำมัน การปลูกในกระถางส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน 2 สวน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 สวน ทรายหยาบ 1 สวน

การดูแล
และฤดูหนาวชึ่งความชื้นในอากาศมีน้อย ควรรดน้ำเพิ่มในช่วงบ่ายด้วย สวนการให้ปุ๋ยนิยมให้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีละลายน้ำเช่น สูตร 10-10-30 , 17-34-17, 16-21-27 ฉีดพ่นทางใบหรือรดที่โคนต้นก็ได้อาจเสริถ้าปลูกในบ้านหรือาคารสำนักงานควรรดน้ำวันละ 2 ครั้งในต้อนเช้าและตอนเย็นส่วนในช่วงฤดูร้อนมด้วยกระดูกป่นเล็กน้อย 2 - 3 ครั้งต่อเดือน

การปลูกเลี้ยงหน้าวัวให้ได้ต้นที่สมบูรณ์และให้ดอกสม่ำเสมอนั้นต้องมีการตัดแต่งต้นตัดใบและดอกที่แก่หรือเป็นโรคทิ้ง ไม่ควรปล่อยให้ต้นมีใบดกเกินไป เพราะจะทำให้การถ่ายเทอากาศบริเวณโคนต้นไม่ดี เป็นแหล่งสะสมโรคควรตัดใบให้เหลือ 3 - 4 ใบต่อยอดทุกปี

โรคใบจุดหรือปลีจุด ระบาดมากในฤดูฝน เกิดจากเชื้อรา ทำให้ใบเป็นจุดแห้งหรือปลีเป็นสีน้ำตาล นิยมใช้มาเน็บ(manab) หรือคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ฉีดพ่นเมื่อละบาด

โรคใบไหม้ ระบาดมากในช่วงฤดูฝนเกิดจากเชื้อราทำให้ใบมีจุดสีเขียวหม่นลักษณะช้ำหรือไหม้อาจขยายเป็นแผลขนาดใหญ่จนเน่าแลและแห้งในที่สุด ทำลลายดอกและหน่ออ่อน ควรฉีดพ่นด้วยแคงเกอร์เอ๊กซ์หรือสเตรปสลับกับยาโคไซด์และโคแมกซ์

โรครากเน่า จะเกิดเมื่อวัสดุปลูกระบายน้ำไม่ดีและไม่สะอาด เชื้อโรคจึงเข้าทำลายได้ง่าย เมื่อพบต้นที่แสดงอาการเป็นโรค ต้องนำไปเผาทำลายทิ้งเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ หรือราดแปลงปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา

โรคใบด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้ใบและดอกมีลักษณะหนาและด้าน มีขนาดเล็ก รูปทรงผิดธรรมชาติ เมื่อพบต้นเป็นโรค ต้องนำไปเผาทิ้งทำลายทันที นอกจากนี้อาจพบแมลงศัตรูพวกเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง ซึ่งระบาดมากในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนหนอนกินใบ แมงมุมหอยทาก หนู และกระรอก ที่มักทำความเสียหายให้กับดอกหน้าวัวมากควรหมั่นตรวจดูแอยู่เสมอ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น