วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

เด็กไทยใช้ภาษาสุดเพื้อน

ชี้เด็กไทยใช้ภาษาไทยสุดเพี้ยน

โพลวธ.ชี้ เฟซบุค-ทวิตเตอร์-บีบี ทำเด็กใช้ภาษาไทยสุดเพี้ยน "นิพิฎฐ์" เตรียมรณรงค์ให้เด็กหันมาเขียนจดหมาย

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 ก.ค.นี้ วธ.ได้จัดทำผลการสำรวจความคิดเห็น หรือ โพลวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2553 จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 6,592 คน อายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ผลปรากฏว่า ร้อยละ 55.35 ทราบมาก่อนว่าวันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 ก.ค. รองลงมา ร้อยละ 28.08 ไม่ทราบ และ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.57 อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41.25 ทราบว่าวัตถุประสงค์หนึ่งที่กำหนดวันที่ 29 ก.ค.เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงห่วงใยและพระราชทานแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2505 ร้อยละ 35.63 ไม่ทราบ และร้อยละ 23.12 ไม่แน่ใจ
ร้อยละ 77.70 คิดว่าผู้ที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง คือ ครูอาจารย์ รองลงมา คือ พ่อแม่/ผู้ปกครอง ร้อยละ 60.89 ผู้ประกาศข่าวร้อยละ 52.99 พิธีกรรายการโทรทัศน์ร้อยละ 37.23 ดารา/นักแสดงร้อยละ 31.37 ผู้ดำเนินรายการวิทยุ/ดีเจ ร้อยละ 27.64 นักร้องร้อยละ 25.02 และ นักการเมืองร้อยละ 22.12 ตามลำดับ ร้อยละ 60.30 ไม่เห็นด้วยกับประเด็น "การพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ หรือพูดมีสำเนียงฝรั่งเป็นการแสดงถึงการมีความรู้หรือความทันสมัย ร้อยละ 34.50 ไม่เห็นด้วยกับประเด็น “ไม่จำเป็นต้องเขียนภาษาไทยในการสื่อสารผ่านมือถือ/อินเตอร์เน็ตให้ถูกต้อง เพราะทำให้เสียเวลา แค่สื่อสารกันรู้เรื่องก็พอแล้ว” ร้อยละ 38.70 ไม่เห็นด้วยกับประเด็น “การพูดภาษาไทยไม่ชัด เช่น คำควบกล้ำ เสียงวรรณยุกต์ ถือเป็นเรื่องปกติ” กลุ่ม

ตัวอย่างร้อยละ 36.20 ไม่เห็นด้วยกับประเด็น "การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ควรใช้ในเรื่องที่เป็นทางการเท่านั้น”

ร้อยละ 62.60 มีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยที่มีภาษาเป็นของตนเองอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 37 คิดว่า ปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับค่อนข้างมาก กลุ่มตัวอย่างที่เสนอให้ วธ. ควรรณรงค์ หรือจัดกิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามลำดับดังนี้ ร้อยละ 43.92 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทยร้อยละ 28.37 ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและองค์กรที่ส่งเสริมสนับสนุน อนุรักษ์ภาษาไทย ร้อยละ 27.96 จัดกิจกรรมที่เพิ่มพูนประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทย และร้อยละ 0.74 อื่น ๆ เช่น จัดอบรมหรือประชุมสัมมนาครูผู้สอนวิชา ภาษาไทย หรือจัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ภาษาพื้นเมือง เป็นต้น

นายพินิฏฐ์ กล่าวว่า ตนมีนโยบายในการรณรงค์ให้คนไทยใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสารมีความทันสมัย เด็กเขียนภาษาไทยผ่านแต่ในเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ โทรศัพท์ บีบี ทำให้บางคำผิดเพี้ยนได้ง่าย ทุกวันนี้เด็กไม่เขียนจดหมายถึงกันแล้ว ดังนั้นอยากรณรงค์ให้เด็กหันมาเขียนจดหมายเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องกันมากขึ้น นอกจากนี้เรื่องภาษาถิ่นก็น่าเป็นห่วง คิดว่าจะต้องเริ่มที่ครอบครัวเป็นหลัก อยู่บ้านควรจะพูดคุยกันด้วยภาษาถิ่น จะทำให้เด็กได้ 2 ภาษา คือ ภาษาท้องถิ่นและภาษากลาง

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่า

ผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่า

ผลกระทบจากการทำลายป่าไม้จากการที่ปริมาณป่าไม้ลดลงย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ และมีผลต่อปัจจัยทางชีวภาพ มีผลกระทบต่อ สภาพดิน น้ำ อากาศ สัตว์ป่า สิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพราะทั้ง ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จะมีความสัมพันธ์กันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ในระบบนิเวศ ก่อให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติ การทำลายป่าจึงก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้1. เกิดการชะล้างพังทลายของดิน ป่าที่ถูกทำลายจะทำให้ไม่มีต้นไม้ วัชพืช หญ้าปกคลุมดิน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ


2. เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน บริเวณป่าที่ถูกทำลายจะไม่มีต้นไม้ วัชพืช และหญ้าที่ปกคลุมหน้าดินช่วยดูดซับน้ำฝน ไว้ ทำให้น้ำไหลบ่าจากที่สูงอย่างรุนแรง และมีปริมาณมากทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ตอนล่างอย่างฉับพลัน






3. เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง การทำลายป่าไม้ ต้นน้ำลำธารทำให้ป่าไม้ถูกตัด แยกออกเป็นส่วนๆ เกิดการระเหยของน้ำจากผิว ดินสูง แต่การซึม ผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บ น้ำไว้ได้น้อย ส่งผลให้น้ำไหลลงสู่ลำธารน้อยเกิด ความแห้งแล้งในฤดู





4. เกิดปัญหาโลกร้อนขึ้น เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งของการหมุนเวียนสาร ระหว่างออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและสารอื่นๆ ในระบบนิเวศที่ สำคัญ การทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูง

5. คุณภาพของน้ำเสื่อมลง เมื่อฝนตกในบริเวณป่าไม้ที่ถูกทำลายก็จะพัดพาเอาดินโคลน ตะกอนลงสู่ แหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่นและเกิดการตื้นเขินส่งผล ให้คุณภาพน้ำทั้งทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ และเคมีด้อยลง ไม่สามารถใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค ได้
6. พืชและสัตว์ป่ามีจำนวนและชนิดลดลง ป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ พืชและสัตว์ป่า การตัดไม้ทำลายป่าเป็น การทำลายแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้พืชและสัตว์ป่าหลายชนิดมีปริมาณ ลดลงจนเกือบสูญพันธ์

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ดอกหน้าวัว

ดอกหน้าวัว

ชื่อสามัญ Anthurium ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthurium andraeanum
ตระกูล Araceae (arum)
ถิ่นกำเนิด โคลัมเบีย

ลักษณะทั่วไป
หน้าวัวเป็นไม้พุ่มเตี้ยใช้ปลูกคลุมดิน มีอายุหลายปี เติบโตเป็นต้นเดี่ยวหรืแตกกอ ลำต้นสั้นหรืยืดยาวคล้ายไม้เลื้อยและทิ้งใบช่วงล่างของต้นพร้อมทั้งเกิดรากใหม่ที่บริเวณ เป็นไม้ตัดดอกที่มีรูปร่างแปลกตา สีสันสดสวย ออกดอกได้ตลอดปี ใบของหน้าวัวมีแตกต่างกันไปหลายแบบ เช่น รูปหัวใจ รูปใบหอก รูปสามเหลี่ยม หรือใบประกอบแบบนิ้วมือใบแตกออกจากลำต้นเรียงเวียนสลับกัน ขนาดและสีต่างกันไปตามชนิดและพันธุ์ดอกของหน้าวัวเกิดจากตาดอกที่ซอกใบ ปกติตาดอกและใบอ่อนจะเกิดพร้อมกัน แต่ตาดอกจะพัฒนาขึ้นมาหลังจากใบแก่สมบูรณ์แล้ว ดังนั้นต้นที่โตเร็วจึงมักจะให้ดอกดก ดอกหน้าวัวมีสวนประกอบด้วยช่อดอกที่เรียกว่าปลี อาจมีสีขาว เหลืองหรือขาวปลายสีเหลือง และจานลองดอกหรือที่เรียกว่าดอกนั้นเองจานลองดอกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าใบประดับ มีลักษณะคล้ายใบติดที่โคนปลีหน้าวัวที่มีดอกสีสวยสะดุดตานี้ สีของจานรองดอกมีหลากสี เช่น ขาว เขียว ชมพู ส้ม แดงม่วง หรือมีหลายสีปนกัน อาจเรียบหรือย่นเป็นร่องชึ่งมีคำเรียกเฉพาะว่าร่องน้ำตาซึ่งอาจตื้นลึกต่างกันไปตามพันธุ์

การขยายพันธ์
การเพาะเมล็ด
นิยมใช้เพื่อการปรับปรุงพันธุ์หรือเพื่อผลิตลูกผสมที่มีลักษณะต่างไปจากพ่อ-แม่พันธุ์เท่านั้น ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 3 ปี ต้นจึงจะให้ดอก การเพาะเมล็ดพันธุ์ควรทำทันทีหลังจาก เก็บผล เพราะเมล็ดหน้าวัว สูญเสียความงอกเร็วมาก

การตัดชำยอด
จะทำเมื่อต้นมีความสูงกว่าวัสดุปลูกเกิน 60 เซนติเมตร โดยตัดยอดให้ใบติดอยู่ 3 - 5 ใบ และมีราก2 - 3 ราก ทาแผลที่เกิดจากรอยตัดด้วยยาป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นนำยอดไปปักชำในที่ร่มและมีความชื้นสูง เมื่อมียอดใหม่และรากงอกแล้วจึงย้ายไปปลูกตามปกติ

การแยกหน่อหรือตัดหน่อ
นิยมทำหลังจากที่ตัดยอดชำแล้ว ต้นตอที่ถูกตัดยอดแล้วจะมีหน่อใหม่เกิดขึ้น สามารถตัดแยกหน่อไปปลูกได้ โดยหน่อนั้นควรเป็นหน่อที่มีขนาดใหญ่และมีราก 2 - 3 รากแล้ว

การปักชำต้น
ใช้กับต้นขนาดใหญ่ที่มีอายุมากและถูกตัดยอดไปชำแล้ว โดยตัดต้นเป็นท่อน แต่ละท่อนให้มีข้อ 2 - 3 ข้อนำไปปักชำในทรายหรืออิฐทุบก้อนเล็กๆ ความชื้นสูง แต่ไม่แฉาะ ควรปักชำให้ยอดทำมุมประมาณ 30 - 40 องศา วิธีนี้ใช้เวลานานและต้นใหม่ที่ได้มักไม่แข็งแรงจึงไม่ค่อยนิยมกันนักกาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เป็นวิธีที่ใช้เมื่อต้องการต้นจำนวนมากในระยะเวลาสั้น นิยมใช้กับพันธุ์ที่ผลิตเพื่อการค้า

การปลูก
หน้าวัวจะเติบโตได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสูงแสงรำไรและมีลมพัดผ่านไม่แรงนักสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือปริมาณแสง แดดที่ต้นได้รับเพราะแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ใบเหลือง สีดอกซีดและเป็นรอยไหม้ แต่ถ้าได้รับแสงน้อยเกินไปจะทำให้ใบมีสีเขียวเข็ม ออกดอกน้อย ปริมาณแสงที่เหมาะสมคือประมาณ 20 - 30 % จะทำให้ต้นออกดอกดก คุณภาพดอกดี วัสดุปลูก ที่นิยมใช้กันมากคือ อิฐมอญทุบ ถ่านกาบมะพร้าว ใบไม้ผุ กะลาปาล์มน้ำมัน การปลูกในกระถางส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน 2 สวน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 สวน ทรายหยาบ 1 สวน

การดูแล
และฤดูหนาวชึ่งความชื้นในอากาศมีน้อย ควรรดน้ำเพิ่มในช่วงบ่ายด้วย สวนการให้ปุ๋ยนิยมให้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีละลายน้ำเช่น สูตร 10-10-30 , 17-34-17, 16-21-27 ฉีดพ่นทางใบหรือรดที่โคนต้นก็ได้อาจเสริถ้าปลูกในบ้านหรือาคารสำนักงานควรรดน้ำวันละ 2 ครั้งในต้อนเช้าและตอนเย็นส่วนในช่วงฤดูร้อนมด้วยกระดูกป่นเล็กน้อย 2 - 3 ครั้งต่อเดือน

การปลูกเลี้ยงหน้าวัวให้ได้ต้นที่สมบูรณ์และให้ดอกสม่ำเสมอนั้นต้องมีการตัดแต่งต้นตัดใบและดอกที่แก่หรือเป็นโรคทิ้ง ไม่ควรปล่อยให้ต้นมีใบดกเกินไป เพราะจะทำให้การถ่ายเทอากาศบริเวณโคนต้นไม่ดี เป็นแหล่งสะสมโรคควรตัดใบให้เหลือ 3 - 4 ใบต่อยอดทุกปี

โรคใบจุดหรือปลีจุด ระบาดมากในฤดูฝน เกิดจากเชื้อรา ทำให้ใบเป็นจุดแห้งหรือปลีเป็นสีน้ำตาล นิยมใช้มาเน็บ(manab) หรือคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ฉีดพ่นเมื่อละบาด

โรคใบไหม้ ระบาดมากในช่วงฤดูฝนเกิดจากเชื้อราทำให้ใบมีจุดสีเขียวหม่นลักษณะช้ำหรือไหม้อาจขยายเป็นแผลขนาดใหญ่จนเน่าแลและแห้งในที่สุด ทำลลายดอกและหน่ออ่อน ควรฉีดพ่นด้วยแคงเกอร์เอ๊กซ์หรือสเตรปสลับกับยาโคไซด์และโคแมกซ์

โรครากเน่า จะเกิดเมื่อวัสดุปลูกระบายน้ำไม่ดีและไม่สะอาด เชื้อโรคจึงเข้าทำลายได้ง่าย เมื่อพบต้นที่แสดงอาการเป็นโรค ต้องนำไปเผาทำลายทิ้งเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ หรือราดแปลงปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา

โรคใบด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้ใบและดอกมีลักษณะหนาและด้าน มีขนาดเล็ก รูปทรงผิดธรรมชาติ เมื่อพบต้นเป็นโรค ต้องนำไปเผาทิ้งทำลายทันที นอกจากนี้อาจพบแมลงศัตรูพวกเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง ซึ่งระบาดมากในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนหนอนกินใบ แมงมุมหอยทาก หนู และกระรอก ที่มักทำความเสียหายให้กับดอกหน้าวัวมากควรหมั่นตรวจดูแอยู่เสมอ